วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ดนตรีก่อเกิดเพราะการได้ยินเสียงจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวของมนุษย์ มีการรับรู้ เลียนแบบ ศึกษาจังหวะ ระดับเสียง ความดัง-เบา ความกลมกลืนและแตกต่างของเสียงแต่ละประเภท จากใกล้ตัวที่สุดคือชีพจรการเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวร่างกาย ไปถึงเสียงจากธรรมชาติและสัตว์นานา โลกแห่งดนตรี เครื่องดนตรีสากล


ดนตรีก่อเกิดเพราะการได้ยินเสียงจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวของมนุษย์ มีการรับรู้ เลียนแบบ ศึกษาจังหวะ ระดับเสียง ความดัง-เบา ความกลมกลืนและแตกต่างของเสียงแต่ละประเภท จากใกล้ตัวที่สุดคือชีพจรการเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวร่างกาย ไปถึงเสียงจากธรรมชาติและสัตว์นานา
เครื่องดนตรีสากล
เครื่องสาย
เครื่องเพอร์คัชชัน
เครื่องลิ่มนิ้ว
เครื่องเป่าลมไม้
เครื่องเป่าทองเหลือง
  

มือกลอง

Third hand Concept



มือกลองหลายท่านอาจเจอปัญหา Fill in หมด หรือเรียกง่ายๆว่าหมดมุข แนวคิดThird hand Concept คือการนำ Bass Drum มาผสมผสานเป็น Fill in ใหม่ ให้เสียงที่แตกต่าง แต่น่าสนใจขึ้น ช่วยให้คุณมี Fill in สต๊อคเก็บไว้ในกระเป๋าเยอะๆน่าจะดีนะ ลองฝึกดูครับ ทำตามกติกาเดิมคือ เริ่มจากช้าๆ เสียงเคลียร์ และใช้เมทรอนอม





แบบฝึกที่สองนี้จะใช้Double Stroke ที่เท้า  ซึ่งต้องใช้เวลาในการฝึกนานหน่อยนะครับ  และสิ่งที่ต้องระวังไว้อย่างคือ  Double Stroke นี้มือกลองจะเหยียบตัวแรกดังกว่าตัวที่สอง  การฝึกที่ถูกต้อง  ควรเหียบทั้งสองตัวโน๊ตให้ได้น้ำหนักชัดเจนเท่าๆกัน(กรณีไม่เน้น)  ลองฝึกดูนะครับ



By: จาก Modern Drummer July 2000 เรียบเรียง Mr.pop


views[10107]    
All contents
Dynamic
Paradidle
Third hand Concept
Ghost Strokes & Flams
ตั้งเสียงกลอง
ศิลปะในการฝึกฝน
รู้จักไม้ตีกลอง
โน๊ตกลอง
การจะเป็นมือกลองในห้องอัดเสียง
การจับไม้กลอง 2 แบบ
รวมจังหวะพื้นฐาน
แบบฝึกมือกลอง 2 กระเดื่อง(ต่อ)
แบบฝึกมือกลอง 2 กระเดื่อง
Fill in 2 และ Funk Rock
แบบฝึกในFeelling 32 Note
แบบฝึกในFeelling3/4
แบบฝึกมือที่อ่อนแออ
แบบฝึกFill in (1)
แบบฝึกFill in
Power Samba

การเรียนอ่านโน้ต

การเรียนอ่านโน้ตในวิธีใหม่ครับ ของnote หน้า 3 (update 15เมษายน 2552)
โดยคุณสำเภา

คนที่เล่นกีต้าร์อาจจะน้อยใจ ทำไมไม่มีบอกโน้ตที่กีต้าร์บ้าง ไม่เป็นไรครับ มีก็ได้
กีต้าร์นั้นเป็นเครื่องดนตรีที่เมื่อเห็นโน้ตตัวเดียวกันสามารถกดหาได้หลายที่ คือเมื่อเห็นตัว C กดตัวนั้นก็ได้ ตรงนี้ก็ได้(ในระดับเสียงเดียวกัน) ตอนนี้จะแสดงให้ดู 2 ตำแหน่งด้วยกัน คือไล่โน้ต แบบ Position นอก และไล่โน้ตแบบ Position ใน จะบอกนิ้วกดไว้ให้ด้วยครับ และก่อนจะกด ควรจะวางนิ้ว รอไว้ ก่อนที่วีดีโอจะบอกก็ได้ครับ


พูดถึงเรื่องกีต้าร์ สิ่งที่คนนิยมใช้ก็คือ TAB จริง ๆแล้วการอ่าน TAB ได้แล้วก็เหมือนกับการอ่าน โน้ตเป็นไปแล้ว ครึ่งชีวิต เพราะสิ่งที่คนอ่าน TAB ทำได้แน่นอนก็คือการอ่านจังหวะเป็นซึ่งตรงกับ ภาษาอังกฤษที่ว่า ริทึ่ม (Rhythm) หากดูที่ตัวอย่างรูปนี้ TAB บอกว่าดีดสายที่เท่าไหร่ และช่องไหน ไว้ชัดเจน จริง ๆแล้วการคิดค้นเรื่อง TAB มาน่าจะเป็นการประยุกต์มากจากการอ่านโน้ต นักดนตรี หลายท่านที่อ่านโน้ตเป็น และอ่าน TAB เป็นมัก จะบอกว่า เมื่ออ่านทั้งสองได้คล่องแล้ว มักจะอ่านโน้ตได้คล่องกว่าเล่นเพลงได้เป็นเร็วกว่า เพราะโน้ตบอก ความรู้สึกสูงต่ำของเสียงได้เร็วกว่า แต่นั่นละครับใครถนัดอะไรก็แล้วแต่คนนั้นแล้วกันครับ


รูปโน้ตเปรียบเทียบกับTAB

หลายท่านแนะนำมาว่าผมน่าจะเน้นเรื่องกีต้าร์ เรื่องโน้ตด้วย เรื่อง TAB ด้วย โน้ตที่เห็นในบรรทัด แรกเลย จะเห็นก่อนว่า 4/4 ความหมายของมันคือ เลขตัวล่างหมายถึงใช้โน้ต quarter note ทำหน้าที่ เป็น 1 จังหวะ (beat) เลขตัวบนหมายถึงจำนวนจังหวะในแต่ละห้องมีห้องละ 4 จังหวะ ส่วน TAB จะใช้ 4/4 เหมือนกัน แต่ใช้ความเป็น quarter note หรือตัวดำของโน้ตไว้เป็นแค่เส้นๆ หนึ่ง เอาล่ะ เราก็เพียงจำว่าไอ้ขีดๆ นี้คือ quarter note แล้วกัน ตัวละ 1 จังหวะในหนึ่งห้องมีแบบนี้เหมือนๆ กัน
ได้ 4 ตัว ส่วนพอไปดูที่ห้องที่ 9 เห็นตัวเลขเฉยๆ ไม่มีหางของ TAB ก็จะเรียกว่า whole note ตัวนั้นยาว 4 จังหวะเต็ม 1 ห้อง ส่วนตอนไปห้องที่ 10 แล้ว จะเห็นว่าจังหวะ (Rhythm) จะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 1 จังหวะ กลุ่มที่อยู่ตัวเดียวคือกลุ่มที่สองคือตัวดำ หรือ quarter note
(มีการ update การผิดพลาดไปแล้วนิดหน่อยครับ เช็คด้วย)

อันนี้เป็นอันที่หลายคนที่เพิ่งหัดอ่านโน้ต หรืออ่าน TAB เป็นเบื้องต้นอาจจะต้องอึ้งนิดหน่อย เพราะว่า ต้องเรียนรู้ ไม่เป็นไรครับเวปเราก็จะสอนให้แนะนำให้ว่าการจะอ่านจังหวะให้เป็นต้องทำอย่างไรบ้าง ติดตามไปเรื่อยๆ ผมจะมา update มากขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นก็จะค่อยๆ ทำได้ไปเองล่ะครับ

ไหนๆ ก็ตั้งใจจะอ่าน TAB ให้เป็นแล้ว สิ่งที่ยากสำหรับการอ่าน TAB คือการอ่านจังหวะแน่นอน นอกนั้นไม่น่า จะมีอะไรยาก เพราะกดถูกที่ถูกช่อง ส่วนกดทันหรือไม่ทันเป็นเรื่องของการฝึกฝน แต่แนะนำว่าอย่ารีบร้อนหัด เร็วตั้งแต่แรกๆ แม้ว่าเพลงนั้นเร็ว เมื่อเราทำช้าได้ พอชำนาญแล้วก็จะ ทำเร็วได้ดีขึ้น จริงๆ อยากแนะนำให้ ดูหนังเรื่อง The Red Violin จังเลยครับ มีอาจารย์สอนเด็ก คนหนึ่ง มีการสอนระบบค่อยๆ เร่ง Metronorm (เครื่องเคาะจังหวะอัตโนมัติ) ให้ค่อยๆ เร็วขึ้น ทีละวันจนเก่ง ดูไปแล้วจะเข้าใจครับ

ตอนนี้ผมจะสมมุติว่าทุกคนคุ้นเคยกับโน้ตตัวดำ หรือ quarter note แล้วที่มีค่าใน Meter 4/4 เป็น 1 จังหวะ ต่อไปจะเป็นตัวอย่าง 4 ตัวอย่างของสองบรรทัดที่เล่นเหมือนกัน แต่ว่าเขียนต่างกัน การใส่เครื่องหมาย Tie ก็คือ การเชื่อมโน้ตหลายตัวมาเป็นตัวเดียวกัน เหมือนความหมาย "ผูก" นั่นล่ะครับ โดยจะใช้ตัวโน้ตตัวดำเป็นเกณฑ์ ในการปรับความเข้าใจ เขียนต่างกันแต่เสียงเหมือนกันนั้น คล้ายกับที่พยายามบอกฝรั่งว่า thailand อ่านว่า tieland นะ เสียง th ไม่ต้องเอาลิ้นออกมาด้วย Thailand = Tieland

ตัวอย่างที่ให้ แม้ว่าจะเห็นความเป็นโน้ต แต่ก็มาประยุกต์ใช้กับ TAB ได้เลยครับ เพราะเรื่องหาง หรือเขบ็จต่างๆ TAB จะเหมือนกับโน้ตทุกประการ

คลิกเพื่อชมการแสดง 2 บรรทัดเขียนต่างกัน แต่ว่าเล่นเหมือนกัน
สำหรับคนที่หัดเล่นกีต้าร์ใหม่ ๆ สิ่งแรกที่ควรจะหัดคือการตีคอร์ด และการตีคอร์ดควรจะมีพื้นฐานจากการรู้สึกถึง ห้องเพลงพื้นฐาน Meter 4/4 ห้องละ 4 จังหวะ หัด Pattern ของการตีคอร์ดอย่างใดอย่างหนึ่ง การฟังกลองไปด้วย จะทำให้รู้สึกได้ว่าจังหวะการเล่นนั้นต้องไปกับกลองอย่างแนบสนิท เดี๋ยวจะมีตัวอย่างข้างล่างต่อไปครับ โดยมากคนหัดกีต้าร์ใหม่ๆ ตอนฟังเพลงก็จะพยายามฟังว่า เอ..กีต้าร์มันเล่นยังไงนะ ฟังไม่ค่อยชัด ถามเพื่อนที่มัน เล่นเป็นดีกว่าว่าเล่นยังไงก่อน แต่ถ้าหากพยายามฟังลูกเล่นของกลองก็จะพบว่า กลองบอกใบ้การเล่นกีต้าร์ไว้แล้ว ลองฟังนะครับ ต่อไปจะเป็น loop 4 ห้องเพลงของสี่คอร์ด โน้ตบรรทัดบนเป็นโน้ตของกีต้าร์ โน้ตของบรรทัดล่าง เป็นโน้ตของกลอง 
(รูปบรรทัดโน้ต กีต้าร์บน กลองล่าง)

บรรทัดบนเครื่องหมายคล้าย ยู คว่ำหัวเหลี่ยมหมายถึงการดีดลง ตัวคล้าย วี จะหมายถึงการดีดขึ้น มือใหม่สังเกต น้ำหนักดังเบาของการดีดด้วยนะครับ เรื่องนี้สำคัญมาก(ผมพยายามทำระบบ loop ให้กับ flash อย่างไรก็ตาม อาจจะไม่ค่อยสมบูรณ์นักแต่คงพอหัดได้นะครับ ตอนนี้เป็นระยะเริ่มต้น ต้องประหยัดเนื้อที่เก็บ เลยต้องเป็น แบบนี้ไปก่อน)

เมื่อพอเล่นได้กันแล้ว ต่อเลยครับ เป็นเสียงกลองอย่างเดียวสำหรับ loop 4 ห้องนี้เลย

อยากให้สังเกตจุดสี่เหลี่ยมแดงที่วิ่งไปด้วย นั่นคือสิ่งที่เราเรียกว่า Beat ใน 1 ห้องจะมี 4 Beats ด้วยกัน สังเกตค่า ของตัวโน้ตเขบ็จมากจะกระชั้นจะหวะ(ถี่)เข้ามามาก เขบ็จน้อย จะกระชั้นน้อย ส่วนตัวดำมีหางธรรมดาไม่มีเขบ็จ ตัวละ 1 จังหวะพอดี

ต่อไปขอเสนอแพทเทิร์นกีต้าร์ประกอบกับกลองอันที่ 2 ครับ อันนี้จะง่ายกว่าอันก่อนหน้าหน่อยนึง คงเหมาะกับ การเล่นเพลงทั่วไปได้อีกแบบ ยกตัวอย่างเพลง "ก่อน" ของโมเดิร์นด็อค ยังใช้แพทเทิร์นนี้ด้วยครับ ตอนนี้ยังคง ทำเป็น loop สี่คอร์ดอยู่นะครับ แต่คราวนี้บอกการจับรูปคอร์ดมาด้วย

ถึงแม้ว่าจะจับเป็นกันอยู่แล้วก็ตาม รอบแรกจะเป็นกีต้าร์ประกอบกับกลอง เหมือนเดิมครับ ตอนนี้สังเกตการตีของกลอง แล้วสังเกตการเล่นของ กีต้าร์ว่ามีความคล้ายกัน อิงกันได้ sense ของ Rhythm เพลงนี้จะค่อนข้างเป็น eight note หน่อย ฟังเสียง Hi-hat จะตีเป็น eight note ตลอดเวลาเลยครับ

ส่วนรอบที่สองจะเป็นกลองเปล่าเหมือนเดิม ส่วนหากสงสัยเรื่องเครื่องหมาย ก็ขอให้ย้อนกลับไปดูอันก่อนหน้าครับ อธิบายไว้แล้ว

หลายท่านคงจะเล่นตาม loop สี่ห้องนี้ได้ไม่ยากนะครับ เพราะฟังๆ เอาก็ได้ แค่เลียนแบบแต่หากอยากจะเข้าใจลึก เข้ามาอีกหน่อยหนึ่ง ผมก็จะเล่าให้ฟังต่อครับ ชีพจรทางอารมณ์ของเพลงป๊อปนั้นค่อนข้างจะออกไปทาง sense
ของตัวโน้ตแบบ sixteen note หรือโน้ตเขบ็จสองชั้น คือนอกจากมี beat หลักแล้ว ต้องมีสิ่งนี้วิ่งอยู่ในใจอยู่ด้วย เวลาฟังเพลงเราจะรู้สึกได้ว่า sixteen note เหล่านี้เหมือนกับเส้นกราฟที่เราจะต้องอิง ห้ามเบี้ยวไปจากมัน แต่ว่า เล่นให้ตรงกับตัวใดตัวหนึ่งในนั้น ก็จะเริ่มโอเค

ตัวอย่างต่อไปนี้จะเป็นโน้ตเพียงห้องเดียว แสดง Rhythm ของ กีต้าร์ที่ loop 4 ห้องที่แล้ว เอามาวิเคราะห์ เทียบกับบรรทัดของ sixteen note โดยจะ Tie พวก sixteen notes
เหล่านั้นเพื่อให้ได้เสียงเดิมของแพทเทิร์นกีต้าร์ของเรา เพื่อจะอธิบายว่า โครงหลักของมันก็มาจากจังหวะย่อย sixteen notes เหล่านี้นั่นเอง
เพลงจะเริ่มจาก beat นำให้ก่อน 4 จังหวะ จากนั้นลำโพงด้านซ้ายจะเป็นเสียงของ sixteen notes ที่เราควร นึกในใจและนึกเป็นโครง ส่วนลำโพงด้านขวา เป็นจังหวะที่ควรจะเล่น ผมทำให้เป็นเสียงเครื่องเคาะ เพื่อจะได้ฟังดู คมชัดกว่า จริงๆ แล้วก็เอากีต้าร์มาเล่นตามครับ ลองฟังซ้ำไปมาเรื่อยๆ
ดูตามให้ทันนะครับ
จากนี้ไปเราก็แวะมาหัดอ่านโน้ตเชิงอ่านแบบเมโลดี้กันหน่อยนะครับ เหมือนกับได้ฝึกสมองทั้งสองด้าน แบบฝึกหัดต่อไปนี้จะหัดสาย 1 ก่อนครับ สายเปล่าคือโน้ต E คงพอทราบกันดีอยู่นะครับ สัญญลักษณ์ที่มักจะใช้บอกว่าเป็นสายเปล่าคือเลขศูนย์ ส่วนโน้ต F จะอยู่ที่ช่องที่ 1 เลขที่เขียน จะไม่ได้เขียนหมายความว่าช่อง 1 แต่จะบอกว่าใช้นิ้ว 1 เล่น(คือนิ้วชี้) ส่วนโน้ต G จะอยู่ที่ช่องที่ 3 เลขที่เขียนพอดีเขียนว่า 3 หมายความว่าให้ใช้นิ้ว 3 เล่น (คือนิ้วนาง) อย่าไปจำสับสนกับช่องนะครับ ตอนนี้บังเอิญมาตรงกันแต่อย่างไรก็ตาม หากได้ติดตามมาตั้งแต่ต้นก็จะเข้าใจทั้งหมดที่ผมพูดครับ และอีกอย่างอย่าลืมแวะไปดูเรื่องการอ่านโน้ตในคอลัมน์อื่นด้วย ก็จะได้รอบรู้มากขึ้นครับ
แบบฝึกหัดที่ 1 สำหรับสาย 1 นี้จะทำมาในรูปแบบการเล่นกีต้าร์ 2 ตัว เป็น Duet ครับ ผู้เรียนไม่ต้องคิดอะไรมากไปกว่าโน้ตในสาย 1 เล่นเฉพาะสาย 1 เท่านั้นบรรทัดบน รอบแรกจะเป็นการเล่นพร้อมกัน 2 ตัวให้ฟัง ส่วนรอบที่สองก็ขอเชิญให้เล่นกับแนวกีต้าร์ที่เล่นเฉพาะแนวล่างไว้ให้ ก่อนจะเล่นแวะไปหน้าโฮมเพจเพื่อตั้งสายก่อนนะครับ จะได้เล่นได้ไพเราะขึ้น
แบบฝึกหัดที่ 2 สำหรับสาย 2 นี้เป็นรูปแบบการเล่นกีต้าร์ 2 ตัวเช่นเคย รอบแรกเล่นพร้อมกัน ให้ฟังเพื่อฝึกซ้อมก่อน รอบที่ 2 ให้ผู้เรียนเล่นแนวบน สิ่งที่ควรจะระมัดระวังคือ พยายามอ่านตัวโน้ตให้ได้จริง ๆ จำตำแหน่งของสาย ว่าโน้ตไหนกดที่ไหน ฝึกส่วนนั้นให้มาก มากกว่าการพยายามท่องจำแล้วเล่นให้ได้ คนเล่นกีต้าร์สนุกสนานกับการท่องจำอยู่แล้วครับและทำได้โดยง่าย แบบฝึกหัดเหล่านี้ทำมาเพื่อจุดประสงค์ให้อ่านโน้ต หากเป็นไปได้ ดูที่หน้านี้ พยายามเล่นบรรทัดบนให้ได้ก่อนที่จะคลิกไปเล่นกับหน้า flash ที่เขียนว่า คลิกเพื่อฟัง ในหน้าโน้ตจะบอกวิธีการจับโน้ตไว้ โน้ตใหม่ละ 1 ครั้งเท่านั้น ครั้งหน้าที่ไม่ได้บอกก็ควรจะจำได้แล้วนะครับ ส่วนที่เขียนเลขศูนย์นั้น หมายถึงสายเปล่าเช่นเคย เลข 1 หมายถึงนิ้วชี้ เลข 3 หมายถึงนิ้วนาง จะดีดด้วยปิค หรือนิ้วก็แล้วแต่ถนัดครับ
ต่อมาก่อนที่จะไปหาสายที่ 3 เรามาเล่นสองสายเป็นทำนองกันเล่น ๆ ก่อนดีกว่า ตอนนี้เสียงเพลงจะเป็นกีต้าร์จริง ๆบ้างแล้วครับ กีต้าร์สายเหล็กของผมสายเก่า ก็เลยไปขอยืมกีต้าร์สายไนลอนมาเล่นให้ฟังทั้งสองแนวเลย อย่าลืมนะครับพื้นความรู้ก่อนจะเล่นแบบฝึกหัดที่ 3 นี้ ควรจะเข้าใจว่าโน้ตไหนจับอย่างไรมาก่อน พอสมควรไม่งั้นก็จะงง ๆ น่าดูเชียว แต่แบบแกะฟังแล้วเล่นตามก็จะไม่มีประโยชน์มาก คงแค่สนุก แต่ถ้าจำโน้ตได้ว่าเขียนแบบนี้กดช่องไหน หรือว่าสายเปล่า ไหนก็จะดีมาก ๆ เอ ผมท่าจะย้ำพูดย้ำสอนเหมือนตอนสอนเด็กเสียแล้ว แต่ไม่ได้หรอกครับจำเป็นที่จะต้องเน้นเรื่อย ๆ จะได้พัฒนาการอ่านได้เร็ว ๆ มาด ูโน้ตก่อน เลยครับ ยังทำเป็นสองบรรทัดอยู่เช่นเคย
การเล่นกีต้าร์อาจจะรู้สึกเหมือนว่าเป็นกีต้าร์คลาสสิคไปหน่อย แต่ไม่ต้องคิดอะไรมากครั้บ ผมเพียงต้องการทำให้ดนตรีประกอบการเรียนน่าเล่นตามไปด้วย หากตีคอร์ดก็จะลำบาก หน่อยสำหรับสไตล์นี้ในการที่จะฟังเรื่องตัวโน้ตชัด ๆ ส่วนโน้ตกีต้าร์แนวล่างดูเหมือนมันซับซ้อน จริง ๆแล้วหากอ่านโน้ตได้ก็คือการจับคอร์ดธรรมดาเองแหละครับ เพียงแต่ว่า มีการดีดสายโน้นสลับสายนี้เป็นหลักเป็นการเท่านั้นเอง พื้นฐานมาจากคอร์ดเด๊ะ ๆเลยครับ เอาละครับ หัดอ่านจากโน้ตข้างบนก่อน ทบทวนว่าสายไหน ดีดตรงไหน ยังไง ก่อนจะ ไปต่อไปข้างล่างต่อไปนี้ หวังว่าคงจะสนุกนะครับ
ตอนนี้เว้นมาดูเรื่องคอร์ดสองรูปการจับซึ่งเป็นการจับที่ค่อนข้างครอบจักรวาล การจับจะใช้สี่นี้วด้วยกัน คอร์ดหนึ่งจับ 4 โน้ตแล้วสามารถเรียกชื่อได้ 4 ชื่อ อีกคอร์ดหนึ่ง จับ 4โน้ต แล้วได้ชื่อ 3 ชื่อ ครับใช่แล้วไม่หลอกกันหรอกครับ การจับแบบหนึ่งจะเป็นการจับแบบ dim7(มักใช้เครื่องหมายองศา มาใช้ย่อชื่อ)อีกแบบเป็นการจับแบบ augmented หรือมักใช้เครื่องหมายบวก(+) เข้ามาแทน ชื่อยาว ๆ มาลองดูตามรูปเลยครับ
นี่คือรูปการจับแบบจับครั้งเดียวได้คอร์ดถึงสี่คอร์ด และสามคอร์ด(จากซ้ายไปขวา) เลข 1,2,3,4 คือเลขนี้วที่ใช้จับ นิ้ว ชี้คือ 1 ส่วนนิ้วก้อยคือ 4 เรียงกันตามลำดับ ไม่มีนิ้วโป้ง ส่วนด้านล่างของคอร์ด dim จะเป็นเป็นสี่โน้ตเพราะเป็น dim7 (dim ธรรมดาจะมีแค่ 3 โน้ตเท่านั้น) ดังนั้นคอร์ด dim7 ที่เห็นจะเรียกชื่อตามโน้ตที่กดทั้ง 4 ตัวเลย ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้
ชื่อที่ 1 คอร์ด Ebdim7 or D#dim7
ชื่อที่ 2 เป็นคอร์ด Adim7
ชื่อที่ 3.เป็นคอร์ด Cdim7
ชื่อที่ 4.เป็นคอร์ด Gbdim7 or F#dim7 วิธีการหาชื่อก็คือ ต้องรู้ว่าในแต่ละช่องของกีต้าร์เป็นโน้ตอะไรบ้าง นิ้วรูปแบบนี้จับโดนโน้ตอะไร ก็ตั้งชื่อได้เลยครับ
ส่วนรูปจับแบบขวาเป็นการจับแบบ Aug (+) จะมีโน้ตนิ้วชี้ กับนิ้วก้อย ซ้ำกัน เราก็เรียกว่าได้ชื่อ 3 ชื่อจากการจับคอร์ดนี้ 4 นิ้ว จะได้ชื่อคอร์ดดังนี้
ชื่อที่ 1.คอร์ด F+,Faug (อ่านว่าเอฟออคเมนเทด)
ชื่อที่ 2.คอร์ด A+,Aaug
ชื่อที่ 3.คอร์ด Db+(C#+) หรือ Dbaug(C#aug)
สรุปคือคอร์ดสองรูปการจับนี้ เราสามารถ slide ไปตามคอกีต้าร์ได้ตลอดทั้งคอกีต้าร์ เราเรียกชื่อคอร์ดไปตามโน้ตที่จับเจอเลยครับ ส่วนหากบังเอิญสายเปล่าที่ไม่ได้กดอีก 2 สาย มีโน้ตไปตรงกับชื่อของเบสโน้ตที่เราจะใช้ เราก็ควรดีดด้วย ส่วนหาก slide ไปแล้วสายเปล่าชื่อไม่เข้ากับสี่โน้ต หรือสามโน้ตที่จับ ก็ไม่ควรดีดสายเปล่าเหล่านั้น เท่านั้นเองครับ ส่วนการหาโน้ตในคอกีต้าร์ ผมได้มีสาธิตและหลักการหาไว้ในหน้า Home page เรียบร้อยแล้วครับ ทบทวนดูได้เสมอครับ หากสังเกตดี ๆ เมื่อเลื่อนไปสักไม่กี่ช่องหรอกครับ โน้ตก็จะเริ่มวนเวียน ดังนั้นการจับคอร์ดบริเวณไหนขึ้นอยู่กับสีสันของคอร์ดตอนนั้นที่คุณอยากเล่นออกมา เลื่อนไปสูง ๆก็ได้สีสันแบบใส ๆขึ้น เล่นต่ำ ๆก็ได้เสียงอุ่น ๆ
แต่โดยมากคอร์ด dim7 และ aug จะเป็นคล้าย ๆคอร์ดเชื่อมต่อระหว่างคอร์ดสองคอร์ดเสมอ เช่น C ไปหา C#dim7 ต่อด้วย Dm7 คือหมายความว่าหากตอนเล่นอยู่มีเสียงตัว โน้ต C ต่อไป C# ต่อไป D เนียน ๆด้วยโน้ตบนกีต้าร์สายเดียวกันใกล้ ๆกัน ก็จะทำให้ถูกกาละเทศะมากขึ้น เช่นเดียวกัน คอร์ด aug มักจะต่อจากคอร์ดชื่อเดียวกัน เช่น คอร์ด C ไปหา Caug ไปหา C6 ก็จะมีตัวโน้ต G(มาจากคอร์ด C) ไปหา G#(มาจากคอร์ด Caug) ไปหา A(มาจากคอร์ด C6) นั่นคือยกตัวอย่าง แต่อาจจะมีบางกรณีใช้คอร์ด dim หรือ aug ออกมาโดด ๆโดยเพียงเหตุผลเรื่องการทำให้แปลกใจ ก็ทำได้ ไม่มีกฏตายตัวเรื่องแบบนี้นัก
มีอีกคำศัพท์ที่อยากให้จำคือคำว่า Enharmonic หมายความว่าเป็นโน้ตที่เสียงเดียวกันแต่เรียกชื่อต่างกัน เช่นโน้ต Db กับโน้ต C# เป็นเอ็นฮาร์โมนิคกัน โน้ต Gb กับโน้ต F# เป็นเอ็นฮาร์โมนิคกัน Db คือ D ที่ต่ำกว่า D ปกติครึ่งเสียง ซึ่งตรงพอดีกับตัว C# ซึ่งสูงกว่า C ปกติครึ่งเสียง บนคอกีต้าร์ Db และ C# กดที่เดียวกัน เลยเรียกว่าเป็น เอ็น ฮาร์โมนิคกันหวังว่าคงเข้าใจนะครับ
มี clip เสียงน่าสนใจมาเสนอ แต่เป็นการอธิบายเรื่องกลอง แต่ความรู้นั้น ประยุกต์เข้ากับการเรียนดนตรีในเรื่องอื่นด้วยครับ ในเรื่องการอ่านค่าจังหวะหรือ Rhythm การคิดของนักดนตรีอาชีพหรือคนที่เล่นดนตรีได้ดีจริง ๆ จะคิดย่อยค่าโน้ตหรือ subdivde ออกไป ฟังแล้วน่าสนใจมากครับ
 
Chords Map สำหรับผู้สนใจเรื่องทางเดินของคอร์ดครับ click

รวมจังหวะพื้นฐาน


Power Samba

เริ่มต้นของเพาเวอร์แซมบ้า เราต้องเริ่มจากเบสิคจังหวะSamba กับการเล่นที่เรียกว่าจังหวะแบ่ง รูปแบบดังในรูปครับ ค่อยฝึกจากแพทเทร์นที่1 – 3 นะครับ เริ่มจากช้าๆก่อนเพื่อให้มั่นใจว่าคุณตีได้แล้ว จาก แพทเทอร์นที่ 3 เห็นได้ว่าเราเพิ่มมือขวาที่ Floor Tomในจังหวะ &2 และ&4 ซึ่งเสียงฟังดูเหมือนจังหวะของคนป่า จากแพทเทร์นเบสิคนี้เห็นได้ว่ามือซ้ายคุณยังว่างรู้สึกไหม ดังนั้นจึงต้องใช้มือที่เหลือโซโลที่ Snare ด้วยครับ ด้วยการเติมเขบ็จสองชั้นลงไปดังนี้ครับ

เพิ่มเขบ็จสองชั้น 2 ตัวแรกบนแสนร์ในทุกจังหวะ
เพิ่มเขบ็จสองชั้น 2 ตัวท้ายนทุกจังหวะ
หลังจากนั้นคุณควรเริ่มโซโลอย่างอิสระ ถึงขั้นนี้แล้วจะทำให้คุณเริ่มซึมซับเพลงที่เล่นไว้ในใจปล่อยให้มือและเท้าทำหน้าที่ของมันไป เริ่มจากรูปแบบนี้ครับ

สุดท้ายเราจะมาถึงจุดที่เป็นอิสระ เริ่มโซโลแบบอิสระบนกลองของคุณอย่างเร้าใจ ซึ่งรูปแบบที่ประยุกต์ไปอีก คุณอาจเล่นแบบนี้
ความสวยงามของจังหวะนี้นั้นคือมันเหมือนกับการไม่สิ้นสุด เพราะว่าเมื่อคุณเล่นถึงห้องสุดท้าย คุณก็เต้องกลับไปที่จุดเริ่มต้นใหม่และกลับไปในรูปแบบเดิม

หากต้องการประยุกต์ไปในมือกลอง ที่ใช้Double Bass Drum สามารถเล่นตามรูปแบบสุดท้ายในรูปข้างบนนี้ครับ
By: Mr.POP

views[4796]    
All contents
Dynamic
Paradidle
Third hand Concept
Ghost Strokes & Flams
ตั้งเสียงกลอง
ศิลปะในการฝึกฝน
รู้จักไม้ตีกลอง
โน๊ตกลอง
การจะเป็นมือกลองในห้องอัดเสียง
การจับไม้กลอง 2 แบบ
รวมจังหวะพื้นฐาน
แบบฝึกมือกลอง 2 กระเดื่อง(ต่อ)
แบบฝึกมือกลอง 2 กระเดื่อง
Fill in 2 และ Funk Rock
แบบฝึกในFeelling 32 Note
แบบฝึกในFeelling3/4
แบบฝึกมือที่อ่อนแออ
แบบฝึกFill in (1)
แบบฝึกFill in
Power Samba